วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หมวดการเสนอข่าว มาเป็นหลักในการพิจารณา คือ

จรรยาบรรณสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดย สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้ตราประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 แบ่งเป็น 5 หมวด คือ หมวดทั่วไป หมวดจรรยาบรรณในการเสนอข่าว หมวดจรรยาบรรณในการแสดงความเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ หมวดจรรยาบรรณในการประกาศโฆษณา หมวดความประพฤติ ในที่นี้จะยกหมวดว่าด้วยการเสนอข่าว มาเป็นหลักในการพิจารณา คือ
(1) ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นเท็จ ไม่ว่าลักษณะใดๆ
(2)ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งทำให้ประชาชนเสียขวัญ เกิดการแตกแยกกระทบกระเทือนความมั่นคงแห่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศ
(3) ไม่เสนอข่าวและภาพลามกอนาจาร ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(4) ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระ ชวนให้หลงเชื่องมงาย
(5)ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระ
(6) ไม่สอดแทรกความเห็นใดๆของตนลงไปในข่าว
(7) ในกรณีคัดลอกข้อความจากหนังสือพิมพ์ หรือหนังสืออื่น ต้องแจ้งให้ทราบถึงแหล่งที่มาของข้อความนั้น
(8) ภาษาที่ใช้ในการเสนอข่าวและการบรรยายภาพต้องสุภาพ ปราศจากความหมายในเชิงเหยียดหยาม กระทบกระเทียบ เปรียบเปรย เสียดสี
(9) ไม่ใช้การเสนอข่าวและภาพเป็นไปในทางโฆษณาตนเอง
(10) ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งขัดกับสาธารณประโยชน์ของประชาชนและสังคมประเทศชาติ
(11) ไม่เสนอข่าวและภาพซ้ำเติม ระบายสี บุคคล องค์กร สถาบัน ซึ่งตกเป็นข่าว
(12) ไม่เสนอข่าวและภาพ ในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามลัทธิความเชื่อศาสนาใดๆ
(13) พึงให้ความเคารพต่อสิทธิของบุคคล องค์กร และสถาบันอื่นตามกฎหมาย
(14) พึงรับผิดและแก้ไขโดยเปิดเผยและไม่ชักช้าถ้าเกิดความเสียหายแก่บุคคล องค์กร หรือสถาบัน ในการเสนอข่าวผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
(15) พึงละเว้นจากการรับอามิสสินจ้างใดๆ ให้ทำหรือละเว้นการกระทำเกี่ยวกับการเสนอข่าวตรงไปตรงมา
หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณขององค์กรสื่อที่ยกมาข้างต้นนั้น ได้รับรองสิทธิและเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อ แต่ต้องเป็นไปโดยเคารพกฎระเบียบและไม่ละเมิดผู้อื่น ทั้งยังกำหนดให้สื่อยึดถือประโยชน์แห่งสาธารณะเป็นหลัก มีความซื่อตรงต่อผู้มูลข่าวสาร ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ให้เกียรติแก่ผู้อื่น เช่นเดียวกัน
สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไปก็คือ หลักจริยธรรมของสมาคมหนังสือพิมพ์ที่ออกมาเมื่อ 40 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2510) และ จรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายวิทยุและโทรทัศน์ ที่ตราออกมาเมื่อ 13 ปีก่อน (พ.ศ.2538) ยังเป็นสิ่งที่สื่อให้ความสำคัญอยู่หรือไม่ ปฏิบัติตามเพียงใด หรือว่า เป็นข้อกำหนดที่ล้าสมัย ไม่เข้ากับกาลเวลาที่เทคโนโลยีก้าวหน้า มีนวัตกรรมใหม่ๆของสื่อเกิดขึ้นมากมายดังเช่นปัจจุบันนี้แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น