วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติอริสโตเติล



อริสโตเติล (กรีก: Αριστοτέλης, Aristotelēs ; อังกฤษ: Aristotle) (พ.ศ. 160 (384 ก่อนค.ศ.) - 7 มีนาคม พ.ศ. 222 (322 ก่อนค.ศ.)) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา

นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ อริสโตเติล, เพลโต (อาจารย์ของอริสโตเติล) และโสกราติส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราติส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราติสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่น ๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ

อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก

-ปรัชญาของอริสโตเติล
-อภิปรัชญาของอริสโตเติล
-ปรัชญาธรรมชาติของอริสโดเติล
-จิตวิทยาของอริสโตเติล
หลักคำสอน
คำสอนที่น่าสนใจของอริสโตเติลได้แก่ ความเชื่อที่ว่าโลกเรานี้ประกอบด้วยธาตุต่างๆ 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ

ในเรื่องเกี่ยวกับจักรวาลนั้นอริสโตเติลเข้าใจว่า โลกเราเป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีดวงดาวต่าง ๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์โคจรรอบ ๆ สวรรค์นั้นอยู่นอกอวกาศ โลกอยู่ด้านล่างลงมา น้ำอยู่บนพื้นโลก ลมอยู่เหนือน้ำ และไฟอยู่เหนือลมอีกทีหนึ่ง ธาตุต่าง ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่ทว่าธาตุที่ประกอบเป็นสวรรค์นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงจะมีรูปร่างเช่นนั้นตลอดไป ซึ่งคำสอนต่อมาในปี ค.ศ. 1609 โจฮันน์ เคปเลอร์ (Johann Kepler) ได้ตั้งกฏของเคปเลอร์ ซึ่งเป็นการประกาศว่า โลกเราโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี เป็นการลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลของอริสโตเติล

และในอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ กรณีของวัตถุสองอย่างที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน จะตกลงถึงพื้นไม่พร้อมกันตามหลักของอริสโตเติล ซึ่งกาลิเลโอ ได้ทำการพิสูจน์ต่อหน้าสาธารณชนที่หอเอนแห่งปิซาว่าเป็นคำสอนที่ไม่จริงในปี ค.ศ. 1600

แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของอริสโตเติลทางด้านชีววิทยานั้นเป็นที่ยกย่องกันมาก เพราะเขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา และพวกสัตว์เลื้อยคลานและได้ทำการบันทึกไว้อย่างละเอียดมาก เขาได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 พวกใหญ่ คือ พวกมีกระดูกสันหลัง (Vertebrates) และพวกไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) นับว่าอริสโตเติลเป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางด้านนี้จนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

หมวดการเสนอข่าว มาเป็นหลักในการพิจารณา คือ

จรรยาบรรณสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดย สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้ตราประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 แบ่งเป็น 5 หมวด คือ หมวดทั่วไป หมวดจรรยาบรรณในการเสนอข่าว หมวดจรรยาบรรณในการแสดงความเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ หมวดจรรยาบรรณในการประกาศโฆษณา หมวดความประพฤติ ในที่นี้จะยกหมวดว่าด้วยการเสนอข่าว มาเป็นหลักในการพิจารณา คือ
(1) ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นเท็จ ไม่ว่าลักษณะใดๆ
(2)ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งทำให้ประชาชนเสียขวัญ เกิดการแตกแยกกระทบกระเทือนความมั่นคงแห่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศ
(3) ไม่เสนอข่าวและภาพลามกอนาจาร ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(4) ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระ ชวนให้หลงเชื่องมงาย
(5)ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระ
(6) ไม่สอดแทรกความเห็นใดๆของตนลงไปในข่าว
(7) ในกรณีคัดลอกข้อความจากหนังสือพิมพ์ หรือหนังสืออื่น ต้องแจ้งให้ทราบถึงแหล่งที่มาของข้อความนั้น
(8) ภาษาที่ใช้ในการเสนอข่าวและการบรรยายภาพต้องสุภาพ ปราศจากความหมายในเชิงเหยียดหยาม กระทบกระเทียบ เปรียบเปรย เสียดสี
(9) ไม่ใช้การเสนอข่าวและภาพเป็นไปในทางโฆษณาตนเอง
(10) ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งขัดกับสาธารณประโยชน์ของประชาชนและสังคมประเทศชาติ
(11) ไม่เสนอข่าวและภาพซ้ำเติม ระบายสี บุคคล องค์กร สถาบัน ซึ่งตกเป็นข่าว
(12) ไม่เสนอข่าวและภาพ ในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามลัทธิความเชื่อศาสนาใดๆ
(13) พึงให้ความเคารพต่อสิทธิของบุคคล องค์กร และสถาบันอื่นตามกฎหมาย
(14) พึงรับผิดและแก้ไขโดยเปิดเผยและไม่ชักช้าถ้าเกิดความเสียหายแก่บุคคล องค์กร หรือสถาบัน ในการเสนอข่าวผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
(15) พึงละเว้นจากการรับอามิสสินจ้างใดๆ ให้ทำหรือละเว้นการกระทำเกี่ยวกับการเสนอข่าวตรงไปตรงมา
หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณขององค์กรสื่อที่ยกมาข้างต้นนั้น ได้รับรองสิทธิและเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อ แต่ต้องเป็นไปโดยเคารพกฎระเบียบและไม่ละเมิดผู้อื่น ทั้งยังกำหนดให้สื่อยึดถือประโยชน์แห่งสาธารณะเป็นหลัก มีความซื่อตรงต่อผู้มูลข่าวสาร ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ให้เกียรติแก่ผู้อื่น เช่นเดียวกัน
สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไปก็คือ หลักจริยธรรมของสมาคมหนังสือพิมพ์ที่ออกมาเมื่อ 40 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2510) และ จรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายวิทยุและโทรทัศน์ ที่ตราออกมาเมื่อ 13 ปีก่อน (พ.ศ.2538) ยังเป็นสิ่งที่สื่อให้ความสำคัญอยู่หรือไม่ ปฏิบัติตามเพียงใด หรือว่า เป็นข้อกำหนดที่ล้าสมัย ไม่เข้ากับกาลเวลาที่เทคโนโลยีก้าวหน้า มีนวัตกรรมใหม่ๆของสื่อเกิดขึ้นมากมายดังเช่นปัจจุบันนี้แล้ว

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน คือ

1.จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์ โดย สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กำหนด “จริยธรรมของสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2510 ไว้ดังนี้
(1) ความรับผิดชอบ (Responsibility) ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อผลประโยชน์อันชอบธรรมของปัจเจกชน สถาบัน ประเทศชาติ ศาสนา และราชบัลลังก์ (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ กิจญาณ)
(2) ความมีเสรีภาพ (Freedom) ได้แก่ เสรีภาพที่มีความรับผิดชอบกำกับ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธสาสนาคือ ปวารณา หรือ ธรรมาธิปไตย)
(3) ความเป็นไท (Independence) ได้แก่ ความไม่ตกเป็นทาสของใครทั้งกายและจิตใจ โดยอามิสสินจ้างอื่นใด(ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนาคือ ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)
(4) ความจริงใจ (Sincerity) ได้แก่ ความไม่มีเจตนาบิดเบือน ผิดพลาดต้องรีบแก้ไข (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สัจจะ)
(5) ความเที่ยงธรรม (Impartiality) ได้แก่ ความไม่ลำเอียง หรือความไม่เข้าใครออกใคร (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่มีอคติ 4 ประการ หมายถึง “ฉันทาคติ” ลำเอียงเพราะรัก “โทสาคติ” ลำเอียงเพราะชัง “ภยาคติ” ลำเอียงเพราะกลัว “โมหาคติ” ลำเอียงเพราะหลง)
(6) ความมีน้ำใจนักกีฬา (Fair Play) ได้แก่ การปฏิบัติดีงาม ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สุปฏิบัติ)
(7) ความมีมารยาท (Decency) ได้แก่ การใช้ภาษาและภาพที่ไม่หยาบโลนและลามกอนาจาร หรือส่อไปในทางดังกล่าว (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ โสเจยยะ หรืออาจารย์สมบัติ)
นอกจาก “จริยธรรมของสามาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” แล้ว ยังกำหนด “จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์” ไว้อีก 7 ข้อ คือ
(1) การส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ เป็นภารกิจอันมีความสำคัญเหนืออื่นใดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์
(2) การเสนอข่าว ภาพ หรือการแสดงความคิดเห็น ต้องเป็นไปด้วยความสุภาพ สุจริต ปราศจากความมุ่งหวังในประโยชน์ส่วนตนหรืออามิสสินจ้างใดๆ
(3) การเสนอข่าว ต้องเสนอแต่ความจริง พึงละเว้นการต่อเติมเสริมแต่ง หากปรากฏว่าข่าวใดๆไม่ตรงต่อความจริงต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว
(4) การที่จะให้ได้ข่าว ภาพ หรือข้อมูลอย่างใดๆมาเป็นของตน ต้องใช้วิธีการที่สุภาพและซื่อสัตย์
(5) ต้องเคารพต่อความไว้วางใจที่ได้รับมอบหมายจากการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของตน
(6) ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยถือเอาสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์ส่วนตน หรือหมู่คณะโดยมิชอบ
(7) ต้องไม่กระทำการใดๆอันเป็นการบั่นทอนเกียรติคุณของวิชาชีพหรือความสามัคคีของเพื่อนร่วมวิชาชีพ
นอกจาก จริยธรรมหรือจรรยาบรรณที่กำหนดโดย สามาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดังข้างต้นแล้ว สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ก็มี จรรยาบรรณของสามคมฯ ให้สมาชิกได้ยึดถือปฏิบัติเป็นหลักเดียวกัน ซึ่งใจความก็ไม่ต่างจากจรรยาบรรณของสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงไม่ได้ยกมาไว้ในที่นี้

นวัตกรรมสื่อ : เทคโนโลยี พฤติกรรม และ จริยธรรมของสื่อมวลชน

สื่อมวลชนที่เป็นเสาหลักในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ยังคงเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ เพราะสามารถกระจายข่าวสารได้กว้างขวาง เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด แม้จะเกิดสื่อสมัยใหม่หรือสื่อทางเลือกขึ้น อันได้แก่ สื่อออนไลน์ สื่อดิจิตอล แต่การเข้าถึงผู้รับข่าวสารยังอยู่ในวงจำกัด ดังนั้น สื่อกระแสหลักดั้งเดิมคือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จึงยังมีอิทธิพลต่อผู้คนเช่นเดิม
แต่อิทธิพลของสื่อกระแสหลักดังกล่าว กำลังถูกท้าทายจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆแก่สื่อเป็นอันมาก โดยเฉพาะในด้านเทคนิคที่เครื่องมือเครื่องใช้ได้รับการพัฒนาให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ราคาถูกลง ประสิทธิภาพดีขึ้น ดังนั้น การเป็นเจ้าของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ หากพิจารณาในเรื่องการลงทุนแล้ว สามารถทำได้ง่ายขึ้น จึงปรากฏว่า มีสื่อสิ่งพิมพ์น้อยใหญ่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งเพื่อการเสนอข่าวสาร เพื่อให้ความรู้ เพื่อความบันเทิง และเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นการเฉพาะมากขึ้น สถานีวิทยุก็สามารถจัดตั้งได้ในทุกสถานที่คือวิทยุชมชน ส่วนสถานีโทรทัศน์ก็ไม่มีความยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อน เพราะปัจจุบันสามารถจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม โดยใช้ทุนและเวลาไม่มากนัก ดังนั้น นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการสื่อสาร จึงทำให้เกิดนวัตกรรมของสื่อรูปแบบใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น กระจายข้อมูลข่าวสารถึงผู้รับอย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น

การเกิดขึ้นของสื่อรูปแบบใหม่ๆดังกล่าว ข้อดีก็คือ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนทำได้มากยิ่งขึ้น ประชาชนในระดับท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนในการบริหารจัดการ สร้างเนื้อหา และพัฒนาสื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนได้มากขึ้น เช่น ดำเนินการผ่านวิทยุชุมชนที่มีการจัดตั้งกันอย่างมากมายในระยะ 4-5 ปีมานี้ ถึงแม้จะมีปัญหาด้านกฎหมายอยู่ก็ตาม ส่วนข้อเสียก็คือ โอกาสที่จะมีการผูกขาดการจัดการข้อมูลข่าวสารก็เกิดขึ้นได้ หากเจ้าของวิทยุชุมชนดังกล่าวไม่ใช่ชุมชน แต่เป็นผู้ลงทุนที่มุ่งแสวงหากำไรจากธุรกิจเพียงอย่างเดียว

ราชวสดีธรรม สาระสรุปได้เป็น 3 หลักใหญ่

ราชวสดีธรรม คือ ธรรมที่เป็นหลักในการปฏิบัติราชการ ซึ่งมีสาระสรุปได้เป็น 3 หลักใหญ่ รวม 49 ข้อปฏิบัติ หลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่
1.หลักธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อพระราชาโดยตรง
2.หลักธรรมที่เกี่ยวกับการควบคุมตนเอง
3.หลักธรรมที่เกี่ยวกับการทำงาน

จักรวรรดิวัตรมีหลักปฏิบัติ 12 ประการ

จักรวรรดิวัตร คือ หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์และข้าราชการของพระองค์ใช้ในการดำเนินนโยบายทางการบริหารบ้านเมือง มีหลักปฏิบัติ 12 ประการ ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ให้ตรงตามกับบทบาทหน้าที่ได้ ดังนี้
1.การอบรมผู้ปกครองให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
2.การผูกสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศ
3.การให้รางวัลอันสมควรแก่ผู้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
4.การเกื้อกูลผู้ทรงศีล เครื่องพรต และไทยธรรม และอนุเคราะห์คหบดี ด้วยความช่วยเหลือให้สิ่งที่จำเป็นสำหรับอาชีพ
5.การอนุเคราะห์ให้เลี้ยงชีพได้ตามควรแก่อัตภาพ
6.การให้ความอุปการะแก่ผู้ทรงศีลที่ประพฤติชอบ
7.การห้ามการเบียดเบียนสัตว์
8.การชักนำให้บุคคลทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรม ขจัดการทำบาปทำกรรม และความไม่เป็นธรรม
9.การให้การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ขัดสนไม่พอเลี้ยงชีพ
10.การเข้าหาผู้ทรงศีลในโอกาสอันควร เพื่อศึกษาถึงบุญบาป
11.การตั้งวิรัติจิตไม่ให้เกิดธรรมราคะดำกฤษณา
12.การระงับความโลภ ห้ามจิตใจไม่ให้ปรารถนาลาภที่ไม่ควรได้

ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมของพระราชา มีข้อปฏิบัติรวม 10 ประการ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ได้ กับหลักการบริหารอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมได้ ดังนี้

1.ทาน คือ การให้ทานทรัพย์สินสิ่งของ
2.ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม
3.ปริจจาคะ คือ การบริจาค การยอมสละผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
4.อาชชวะ คือความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น มีความเป็นกลาง คือ ความไม่ลำเอียงหรือมีอคติ
5.มัททวะ คือ ความสุขภาพอ่อนโยนต่อปวงชนทั้งปวง มีสัมมาคารวะ
6.ตบะ คือ มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน มีความพยายามแสวงหาแนวทางสู่ความสำเร็จ
7.อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ การทำจิตใจให้ผ่องใส มีสติและรู้เหตุผลอยู่ตลอดเวลา
8.อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนข่มเหง ความไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น
9.ขันติ คือ ความอดทน ความคงสภาพให้สามารถต่อสู่กับอุปสรรคได้โดยไม่ท้อถอย
10.อวิโรธนะ คือ ไม่ประพฤติผิดในธรรม ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ที่ทำแต่ความดีและได้ผลลัพธ์ของการกระทำที่ดี